4 เหตุผลที่เกษตรกรเลือกใช้พลาสติกคลุมโรงเรือน โรงเพาะชำ

       พลาสติกคุมโรงเรือน

 

 

       การปลูกพืชในโรงเรือน ให้ได้ผลผลิตดี ไม่อาจขาดตัวช่วยอย่าง พลาสติกคลุมโรงเรือน (Green House) ไปได้ เนื่องจากพืชบางชนิดที่ปลูกในโรงเรือน เช่น ไม้ประดับ พืชเถาเลื้อย กล้าพืชทุกชนิด พืชผักสวนครัว กระบองเพชร ไม้อวบน้ำต่าง ๆ เป็นต้น ค่อนข้างมีการดูแลที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ทำให้พลาสติกคลุมโรงเรือน ถูกผลิตขึ้นเพื่อมีจุดประสงค์ในการควบคุมสภาพแวดล้อมหรือสภาพอากาศให้คงที่ภายใน เกษตรกรจึงสามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังป้องกันแมลง ป้องกันฝน ลดอุณหภูมิแสงร้อนจัด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้น พลาสติกคลุมโรงเพาะชำ โรงเรือน จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการสนับสนุนการทำเกษตรอย่างยั่งยืน 

 

 

พลาสติกคลุมโรงเรือน’ ไอเท็มเด็ดที่ขาดไม่ได้ สำหรับเกษตรกรยุคใหม่ (Smart Farmer)

 

 

       พลาสติกคลุมโรงเรือน มีทั้งแบบใสและแบบดำทึบแสง สำหรับติดตั้งคลุมหลังคาโรงเรือน โรงอบ โรงเพาะชำ ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพ มีความแข็งแรง หนา อายุการใช้งาน 2 ปี มีสองสี ความหนา 70-300 ไมครอน สามารถสั่งผลิตได้ตามสเปคที่ต้องการ ราคาย่อมเยา เนื่องจากวัสดุพลาสติกสำหรับคลุมโรงเรือนมีราคาที่ไม่แพง ควบคุมงบประมานในการสั่งผลิตได้ จึงค่อนข้างเหมาะกับเกษตรกรยุคใหม่ที่พึ่งเริ่มทำธุรกิจหรือกำลังอยู่ในช่วงขยายธุรกิจ ซึ่งการเลือกใช้พลาสติกคลุมโรงเรือนที่มีคุณภาพ จะช่วยให้เกษตรกรหมดปัญหาจุกจิกในเรื่อง ความชื้น อุณหภูมิ แมลงหรือโรคพืช ที่จะทำให้ผลผลิตลดลง เป็นการช่วยให้เกษตรกรทำงานง่ายขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว มีความแข็งแรงทนทานสูง ใช้งานได้หลายเดือน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อย ติดตั้งใช้งานง่าย

 

 

ความสำคัญของการใช้พลาสติก Green House สำหรับคลุมโรงเรือน 

 

 

       - ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา การใช้พลาสติกคลุมโรงเรือน โรงเพาะชำ ช่วยป้องกันแสงแดดร้อนจัด ช่วยรักษาความชื้นที่เหมาะสม ป้องกันการระเหยของน้ำ ทำให้เกษตรกรสามารถจัดการสภาพการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เสียเวลาหรือใช้ประมานเยอะในการรักษาสภาพแวดล้อมภายใน 

 

 

       - ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน พลาสติกคลุมโรงเรือนช่วยในการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนได้ตามที่เกษตรกรต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความชื้น แสงแดด อุณหภูมิ เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก

 

 

       - ช่วยป้องกันแมลงและโรคพืช พลาสติกคลุมโรงเรือนมีความแข็งแรงพอ ที่จะป้องกันแมลง ศัตรูพืช ที่อาจเข้ามาทำลายพืชผลภายในพื้นที่เพาะปลูก และยังช่วยลดโอกาสการเกิดเชื้อราได้อีกด้วย

 

 

       - เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต การใช้พลาสติกคลุมโรงเรือน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกพืช เนื่องจากสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืชได้ ทำให้มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้น

 

 

พลาสติกคุมโรงเรือน1

 

 

เกษตรกรมือใหม่ ควรรู้อะไรบ้าง ก่อนซื้อพลาสติกคลุมโรงเรือน?

 

 

       การเลือกใช้พลาสติกรุ่นที่มีความหนามากๆ ไม่ได้หมายความว่า ความหนาจะเป็นตัวช่วยในเรื่องของความทนทานต่อแดดและมีอายุการใช้งานนานกว่ารุ่นที่บางกว่าเสมอไป โดยจริงๆ แล้วความหนาที่มากขึ้น จะช่วยป้องกันการฉีกขาดจากแรงลม แรงกระแทกจากกิ่งไม้ และการชนจากลูกเห็บมากกว่า

 

 

       อีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณา คือ ปริมาณการใส่สารต้านรังสียูวี ที่มักถูกใส่ในพลาสติกรุ่นต่างๆ โดยมีค่าตั้งแต่ 0%, 3%, 5%, และ 7% โดยสารต้านรังสียูวีเหล่านี้สามารถช่วยยืดอายุการใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าก็อาจจะมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานและราคาพลาสติกด้วยเช่นกัน เช่น กรณีสารต้านรังสียูวี 0% อาจต้องพิจารณาว่าเป็นเม็ดพลาสติกใหม่หรือเก่า เพราะอาจมีคุณภาพและราคาต่างกัน ส่วนในกรณีของสารต้านรังสียูวี ที่มีค่าเป็น 3%, 5%, และ 7% นั้น มักจะผลิตจากเม็ดพลาสติกใหม่

 

 

       ในส่วนของการดูแลรักษา จะพบว่าเมื่อใช้งานไปสักระยะ แสงแดดอาจส่องผ่านพลาสติกได้น้อยลงเมื่อมีฝุ่นเกาะอยู่ทั่วพื้นผิวมากชึ้น ดังนั้น ควรล้างพื้นผิวพลาสติกด้วยการฉีดน้ำเป็นครั้งคราว และหากโรงเรือนมีขนาดไม่ใหญ่มาก ก็สามารถใช้ผ้าเช็ดถูเพื่อดูแลรักษาพื้นผิวได้เช่นกัน

 

 

สรุป 4 ประโยชน์ของพลาสติกคลุมโรงเรือน

 

 

       1. ลดการเกิดความร้อนกายในโรงเรือน โรงเพาะชำ

       2. ลดการเกิดเชื้อราและเชื้อโรคพืช

       3. ทนทานรังสี UV และรังสีความร้อน

       4. ป้องกันแมลงและศัตรูพืช ที่อาจทำลาย

 

 

พลาสติกคลุมโรงเรือนแบบใส ชนิด LLDPE/UV และพลาสติกคลุมโรงเรือน แบบดำทึบแสง ชนิด LLDPE/UV มาตรฐาน และมีทั้งแบบไม่ใส่ UV มีขนาดให้เลือกซื้อ ดังนี้ 

 

 

 

 

 

พลาสติกคลุมโรงเรือนแบบใส                                           พลาสติกคลุมโรงเรือน แบบดำทึบแสง 

 

 

พลาสติกคุมโรงเรือน2        พลาสติกคุมโรงเรือนสีทึบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายละเอียด ต่ำสุด(มม.) สูงสุด(มม.)

ผ้าใบคลุมโรงเรือน

กว้าง

3 7.5
ยาว 50 100
ความหนา 70 micron 300 micron
ทางเลือก  

UV3% UV5%

UV7% ไม่ใส่ UV

UV3% UV5%

UV7% ไม่ใส่ UV

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชนิด จำนวนการสั่งซื้อขั้นต่ำ (ม้วน)
   ใส 3m X 100m X 100 micrcon 20
   ใส 4m X 100m X 150 micrcon 20
   ใส 6m X 100m X 100 micrcon 20
   ใส 3.2m X 100m X 150 micrcon 20

 

 

 

 

 

       บริษัท สมบัติชายอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด ผู้ผลิตชั้นนำด้านการผลิตถุงพลาสติกที่ทันสมัย และเป็นหนึ่งในด้านการบริการ โดยเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จำหน่ายพลาสติกคลุมโรงเรือนแบบใส ชนิด LLDPE/UV และพลาสติกคลุมโรงเรือน แบบดำทึบแสง ชนิด LLDPE/UV คุณภาพดี ผลิตด้วยเครื่องจักรนำเข้า ที่ทันสมัย ผลิตภายใต้ห้องควบคุม เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมและสิ่งสกปรกที่จะเข้ามาปนเปื้อน จึงทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกของทางบริษัท มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ตามระบบ ISO GMP และ BRC 

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

www.spi-plastic.com

www.sombatchai.com

sombatchai.brandexdirectory.com

sombatchai.pagesthai.com

เพิ่มประสิทธิภาพงานหยอดกาวให้แม่นยำด้วยหุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติ

หุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติ

 

 

หุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติ คืออะไร


       หุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติ (Glue dispensing robot) เป็นหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติในการหยอดกาวซึ่งเป็นสารยึดติดชิ้นงานต่าง ๆ เพื่อยึดติดชิ้นงานเข้าด้วยกัน จากนั้นก็นั้นเข้าเตาอบ หรือกระบวนการผลิตถัดไป โดยสามารถควบคุมอัตราการจ่าย ความหนืด ขนาดบรรจุภัณฑ์ สำหรับหุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติมีความแม่นยำในการจ่ายกาว นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก

 

ข้อดีของหุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติ


• หุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติจะมีระบบควบคุมที่ใช้งานได้ง่าย
• สามารถใช้หุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติทดแทนแรงงานคน เพื่อการลดต้นทุนในการผลิต
• มีความรวดเร็วสูง และแม่นยำ
• ตัวหุ่นยนต์สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มศักยภาพของการผลิตได้ดีเยี่ยม

 

หุ่นยนต์หยอดกาวอัตโนมัติ


      บริษัท ไอ.เอ็ม.อี. รีโวลูชั่น จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรจักรระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรมทุกชนิดแบบครบวงจร ซึ่งทางบริษัทฯ ผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมกลุ่มยานยนต์ เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ และผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในปัจจุบันบริษัทขยายลูกค้าไปยัง กลุ่มลูกค้าผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า industrial robot ผู้ผลิตจิวเวอรี่ ผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และยังมีการนำแขนกลหุ่นยนต์ มาร่วมประยุกต์ใช้ในระบบอัตโนมัติ การเชื่อมต่อสายการผลิตกับระบบอินเตอร์เน็ท (IoT) และบริษัท ไอ.เอ็ม.อี. รีโวลูชั่น จำกัด ยังคงก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อที่จะรองรับ Thailand 4.0 ซึ่งทางบริษัทมีทีมวิศวกรที่เชี่ยวชาญในการออกแบบและผลิตเครื่องจักรเป็นอย่างดี  

---------------------------------------------------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
รถขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ สุดยอดตัวช่วยสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
แขนกลหุ่นยนต์ (Industrial Robot) ชนิดใดบ้างที่นิยมในวงการอุตสาหกรรม
เครื่องจักรระบบอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ

 

____________________________________________________

 

สนใจชมข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Marketplace

 

www.brandexdirectory.com
เว็บไซต์รวมสินค้าอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

 

www.pagesthai.com
เว็บไซต์รวมรายชื่อโรงงานผลิต ซับคอนแทรค และบริการ

 

www.Brand.co.th
เว็บรวมสินค้าแบรนด์และผู้ผลิตสินค้าแบรนด์

 

www.eeczone.com
เว็บรวมรายชื่อผู้ประกอบการภาคตะวันออก


 

โซล่าฟาร์ม (Solar Farm) ตัวช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์

โซล่าฟาร์ม คืออะไร


         à¹‚ซล่าฟาร์ม (Solar Farm) à¸•à¸±à¸§à¸Šà¹ˆà¸§à¸¢à¸›à¸£à¸°à¸«à¸¢à¸±à¸”พลังงานไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ หรือ โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นนวัตกรรมใหม่ของยุคปัจจุบันโดยนำโซล่าเซลล์หลาย ๆ แผงเรียงต่อกันเพื่อทำการกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโซล่าเซลล์ (Solar cell) à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¹‚ซล่าฟาร์มถูกออกแบบเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าระดับเมกะวัตต์ (MW) เพราะปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพมาก เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด ไร้มลพิษ ใช้ได้ไม่มีวันหมดและช่วยประหยัดพลังงานเปลี่ยนรูปพลังงานเป็นเงินได้

 

โซล่าฟาร์ม

 

 

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ (Solar Cells) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

 

         1. แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Cells)


         à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸œà¸‡à¹‚ซล่าเซลล์ (Solar cells) ชนิดที่ดีที่สุดในตลาด เพราะผลิตจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยใช้ซิลิคอนชิ้นเดียวในการผลิตเซลล์แต่ละชิ้นทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงประมาณ 17-20% และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด สามารถใช้ได้นานมากกว่า 25 ปี  à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¸¥à¸±à¸à¸©à¸“ะของแผงแบบโมโนจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมตัดมุมเรียงต่อกัน มองง่าย ๆ จะเห็นเป็นจุดขาว ๆ ตลอดทั้งแผง แต่ไม่นิยมนำมาใช้ติดตั้งโซล่าฟาร์มเนื่องจากมีราคาสูงและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากนักเพราะต้องตัดซิลิคอนให้ได้รูปและจะมีซิลคอนที่เหลือทิ้งเป็นขยะ

 

         2. แผงโซล่าร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Cells)


         à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸œà¸‡à¹‚ซล่าเซลล์ (Solar cells) ชนิดที่ดีรองลงมาจากตัวโมโนและสามารถทนความร้อนได้ดี นิยมนำมาใช้ติดตั้งเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์หรือโซล่าฟาร์ม โดยการผลิตแผงโพลีจะใช้ซิลิคอนอัดรวมทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 15-19%  à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸´à¸—ธิภาพดีไม่ต่างกับแผงโมโนเท่าไร แถมยังมีราคาที่ถูกกว่า อายุการใช้งานประมาณ 20 ปี ซึ่งลักษณะของแผงจะเหมือนตารางสี่เหลี่ยม ไม่มีการตัดมุมเหมือนแผงโมโน

 

         3. แผงโซล่าร์เซลล์แบบอมอร์ฟัส (Amorphous Solar Cells)


         à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸œà¸‡à¹‚ซล่าเซลล์ (Solar cells) ไม่ได้ใช้ซิลิคอนผลิต แต่เป็นการเคลือบสารที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ ไว้บนแผงผลิตจากแก้วหรือพลาสติก แผงจะมีลายเส้นตรงถี่ๆ เรียงต่อกัน ไม่ได้เป็นตาราง ซึ่งแผงแบบนี้จะมีราคาถูกที่สุด สามารถทำงานได้แม้อยู่ในที่แสงน้อย และประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าไม่สูง และมีอายุการใช้งานสั้นประมาณ 5 ปี จะนิยมมใช้กับเครื่องคิดเลข นาฬิกา

 

รับติดตั้งโซลล่าฟาร์ม

 

 

ระบบการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ มี 2 แบบ ดังนี้

 

1. โซล่าฟาร์มแบบยึดติดอยู่กับที่ (Fixed System) 


          เป็นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีตำแหน่งชัดเจน ตั้งอยู่กับที่โดยดูว่าพื้นที่บริเวณใดโดนแสงอาทิตย์นานสุดเพื่อที่จะได้รับพลังแสงพระอาทิตย์ ได้เยอะ ๆ และนำพลังงานไปใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

ข้อดีของการใช้แผงโซล่าเซลล์แบบยึดติดกับที่
- ต้นทุนในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะต่ำกว่าแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ และค่าดูแลรักษาก็จะถูกกว่า
ข้อเสียของการใช้แผงโซล่าเซลล์แบบยึดติดกับที่
- เวลารับแสงอาทิตย์มีจำกัด เนื่องจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้ได้รับแสงประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวันและรับแสงได้เต็มที่ในช่วงเที่ยงเท่านั้น


2. โซล่าฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) 

          เป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าแบบอยู่กับที่ประมาณ 20% เนื่องจากมีแขนกลทำหน้าที่หมุนแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งจะควบคุมด้วยโปรแกรมเก็บข้อมูลความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ ที่เป็นตัวกำหนดให้แผงหมุนตามมองศาของแสงอาทิตย์ ทำให้ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน

          à¸‹à¸¶à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸£à¸—ำโซล่าฟาร์มจำเป็นต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมากในการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งานของสถานที่นั้นๆ สถานที่ติดตั้งควรจะเป็นที่โล่งแจ้ง ห้ามมีเงาหรือฝุ่นมาบังแผงโซล่าเซลล์ ควรวางแผงโซล่าเซลล์ให้เอียงประมาณ 10-15 องศา เพื่อรับแสงอาทิตย์ให้มากที่สุด

 


โซล่าเซลล์


          à¸”ังนั้นการติดตั้งระบบโซล่าฟาร์มด้วยแผงโซล่าเซลล์นั้น ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบระบบ โดยทีมวิศวกร หรือช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญ อย่าง บริษัท สยาม-ซันนี่ โวลท์ จำกัด ให้บริการติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม (Solar farm) ระบบไฟฟ้า รับเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงาน ติดตั้งตู้คอนโทรล บริการออกแบบตู้คอนโทรล รับทำตู้สวิทช์บอร์ด ในโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานอาคารต่าง ๆ และมีบริการดูแลหลังการติดตั้งเป็นอย่างดีติดต่อสอบถามได้ เรายินดีให้ปรึกษาเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานและสถานประกอบการ สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คลิก

------------------------------------------------------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง
ออกแบบ ติดตั้งระบบโซล่าร์ฟาร์ม งาน Solar farm
ข้อควรระวังในการติดตั้งระบบไฟฟ้า
ความปลอดภัยของการติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานเป็นเรื่องที่สำคัญ 

 

____________________________________________________

 

สนใจชมข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Marketplace

 

www.brandexdirectory.com
เว็บไซต์รวมสินค้าอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

 

www.pagesthai.com
เว็บไซต์รวมรายชื่อโรงงานผลิต ซับคอนแทรค และบริการ

 

www.Brand.co.th
เว็บรวมสินค้าแบรนด์และผู้ผลิตสินค้าแบรนด์

 

www.eeczone.com
เว็บรวมรายชื่อผู้ประกอบการภาคตะวันออก


 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15